วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บุกตะลุยดินแดน Shadow of Eclipse เล่นอย่างไรให้เซียน

เจาะลึกเทคนิคไม่ลับ ในการบุกตะลุยดินแดน Shadow of Eclipse เล่นอย่างไรให้เซียน


มาแล้ว มาแล้ว วันนี้อินิทรีฯ ขอนำเสนอ เคล็ดลับการเพิ่มเทคนิคให้กับตัวละครใน Shadow of Eclipse เกมแนว J-RPG Tactics หนึ่งเดียวของไทย ที่เปิดให้บริการ Open Beta อย่างเต็มรูปแบบไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา แอบเห็นว่างานนี้มีเพื่อนๆ อัพเลเวลกันเร็วมาก และสำหรับใครที่กลัวจะตามคนอื่นไม่ทัน ก็ไปศึกษาเคล็ดลับของเรากันได้เลย รับรองว่าเทพขึ้นแน่นอน 

ในการต่อสู้ของตัวละครใน Shadow of Eclipse แต่ละอาชีพจะมีการสนับสนุน หรือการตั้งรับการโจมตีที่แตกต่างกัน โดยแต่ละอาชีพจะมีสไตล์การต่อสู้เป็นเอกลักษณ์ ทีมงานขอนำเสนอให้เพื่อนๆ เข้าใจพฤติกรรมของแต่ละอาชีพให้เพื่อนๆ เข้าใจ และนำไปปรับใช้กับการเล่นได้อย่างมีชั้นเชิงยิ่งขึ้น

 
  นักดาบ (Fighter) ทำหน้าที่เหมือนตัวแทงก์ (ตัวชน)
เทคนิค :
•    ควรวางนักดาบอยู่ในจุดที่รับการโจมตีจากศัตรูแน่ๆ
•    วางยูนิทอื่นของเรา ให้ระยะโจมตีปกติ ครอบคลุมถึงยูนิทศัตรูเป้าหมาย
•    เมื่อนับดาบถูกโจมตี ยูนิทเราที่โจมตีถึงศัตรู จะโจมตีโต้กลับทันที

ระยะโจมตีของนักดาบ คือ 1 ช่อง (และพิเศษ 1 ช่องมุมทะแยงด้วย)

ข้อควรระวัง : นักดาบแม้จะมีพลังป้องกันที่สูง หากเอาขึ้นชนไม่ดูตาม้าตาเรือ อาจถูกพิษ คำสาป หรือติดสถานะอื่นๆ ได้

แนะนำยูนิทร่วมทีม :
ยูนิทประเภทธนู หรือเวทย์ เช่น โนกะ, ริโอน่า


ภาพที่ 1 : นักดาบเป็นฝ่ายตั้งรับ ถูกโจมตีจากเม่นป่า


ภาพที่ 2 : หลังเม่นป่า โจมตีสำเร็จ ยูนิทฝ่ายเราจะโจมตีโต้กลับทันที


ภาพที่ 3 : ยูนิทตัวที่ 2 ของเราโจมตีซ้ำ แต่เม่นป่าหลบได้ (มันไวเว้ย!)


ภาพที่ 4 : ยูนิทเรา “โนกะ” ไม่ยอมให้เม่นป่ารอด ยิงธนูสอยเม่นป่าร่วงเป็นที่เรียบร้อย!!



นักธนู (Ranger) ทำหน้าที่เหมือนพอยต์เตอร์ (ตัวชี้เป้า)

เทคนิค :

•    วางยูนิทเราในจุดที่โจมตีถึงศัตรู (ตามระยะโจมตีปกติ)
•    เมื่อนักธนูเราจู่โจมเป้าหมายนั้น ยูนิทเราจะโจมตีซ้ำให้ทันที

ระยะโจมตีของนักธนู คือ 5 ช่องรอบตัว

ข้อควรระวัง : นักธนูมีระยะโจมตีที่ไกลมาก หากเรานำยูนิทขึ้นหน้าไปทั้งหมด และเกิดผิดแผน เช่น ศัตรูเลือกมาปิดทางถอยของกองหน้า นักธนูอาจสิ้นชื่อ

แนะนำยูนิทร่วมทีม :
ยูนิททุกประเภท เน้นโจมตีหนักๆ เช่น พยัคฆ์, ดัลลาฮาน

ภาพที่ 1: ยูนิทเรา 2 ตัว ยืมประกบวุ้นดุกดิกอยุ่ ตามวงกลามสีแดง เมื่อนักธนูเลือกเป้าหมาย จะมีข้อความ “สนับสนุน” ปรากฎขึ้น


ภาพที่ 2 : ยูนิทเราทำการโจมตีวุ้นดุกดิก


ภาพที่ 3 : หลังการโจมตี วุ้นดุกดิกยังรอด ยูนิทเราที่สนับสนุนจึงเข้าโจมตีซ้ำ หมายสังหารวุ้นดุกดิกให้ดับดิ้นทันที



 จอมเวทย์ (Wizard) ทำหน้าที่เหมือนกองหนุน (ตัวซ้ำ)
เทคนิค :
•    วางจอมเวทย์ในจุดที่โจมตีถึงศัตรู (ตามระยะโจมตีปกติ)
•    เมื่อยูนิทเราเข้าโจมตีศัตรู จอมเวทย์จะช่วยโจมตีซ้ำ กรณีที่ศัตรูไม่ตาย

ระยะโจมตีของจอมเวทย์ คือ 3 ช่องรอบตัว

ข้อความระวัง : จอมเวทย์พลังป้องกันน้อยมาก หากไม่เป็นไปตามแผน ไม่สามารถปิดฉากศัตรูในเรอบนั้นได้ จอมเวทย์อาจตกเป็นเป้าให้ศัตรูสังหารได้ง่ายๆ

แนะนำยูนิทร่วมทีม :
ยูนิทประเภทดาบ เน้นถึกทน เช่น ดัลลาฮาน หรือราชาเงือก


ภาพที่ 1: ยูนิทเรายืนอยู่หน้าจอมเวทย์ เลือกโจมตีเป้าหมายซึ่งอยู่ในระยะโจมตีของจอมเวทย์


ภาพที่ 2 : ยูนิทเราโจมตีศัตรู แต่ศัตรูยังไม่ตาย


ภาพที่ 3 : จอมเวทย์เราจะโจมตีซ้ำทันที เพื่อปิดเกม!!


ว้าว ว้าว เห็นแบบนี้แล้วเพื่อนๆ คงจะได้เทคนิดอะไรไปบ้างไม่มากก็น้อย ก็ได้เวลาตะลุยของจริงกันแล้วในเกม Shadow of Eclipse แล้วจะรู้ว่าความสนุกในการวางแผนต่อสู้ในดินแดนแห่งความมันส์ได้ก่อเกิดขึ้นแล้ว และทีมงานรับรองว่าจะนำเคล็ดลับดีๆ มาฝากอีกแน่นอน 


J-RPG Tactics หนึ่งเดียวในไทย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
www.soe.in.th
www.facebook.com/ShadowOfEclipseTH